About Us
สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง (Mekong Community Institute - MCI) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมในประเด็นการจัดการทรัพยากรน้ำและระบบนิเวศลุ่มน้ำ ถูกก่อตั้งขึ้นและยื่นจดทะเบียนเป็นสมาคมในปี พ.ศ. 2557
เป้าหมาย : ลุ่มน้ำโขงมีธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนที่ดี โดยรวมเอาชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญ
ภาระกิจ 3 ด้านคือ
- เสริมสร้างกลไกที่มีชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มคนชายขอบเป็นฐานโดยเฉพาะผู้หญิงและเยาวชน
- การแก้ปัญหาผลกระทบแก่ชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำโขง รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
- การยับยั้งโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศและชุมชนลุ่มน้ำโขง
รูปแบบกิจกรรม
- พัฒนาเครือข่าย กลไกล และศักยภาพท้องถิ่น
- เสริมสร้างเครือข่ายและกลไกท้องถิ่นเพื่อการจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำ เช่น สภาประชาชนลุ่มน้ำอิง เครือข่ายเยาวชนลุ่มน้ำโขง เครือข่ายผู้หญิงลุ่มน้ำโขง
- สนับสนุนกิจกรรมของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ และแก้ปัญหาในท้องถิ่น เช่น เขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาพื้นบ้าน การสืบชะตาแม่น้ำ อาชีพทางเลือก ฯลฯ
- พัฒนาศักยภาพ เช่น การอบรมด้านต่างๆ
- ผลิตความรู้ในการจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำ
- ทำงานวิจัยไทบ้าน ที่มีชาวบ้านเป็นนักวิจัยและตั้งอยู่บนความรู้ท้องถิ่น
- ผลิตผลงานทางวิชาการ โดยทำวิจัยข้ามศาสตร์ร่วมกับสถาบันทางวิชาการและหน่วยงานต่างๆ
- พัฒนาโมเดลเพื่อการแก้ปัญหาอย่างเป็นองค์รวมและข้ามศาสตร์
- การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง
- ผลิตสื่อรูปแบบต่างๆ
- จัดการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ สื่อมวลชน การสัมมนา ฯลฯ
- รณรงค์เพื่อยับยั้งภัยคุกคามจากโครงการขนาดใหญ่บนแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา โดยร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของโลโก้
ตัวแรก M หมายถึง "คน" ทั้งชายหญิงทุกเพศวัยและชาติพันธุ์ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ตัวที่สองคือ C หมายถึง ปลารวมทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตัวที่สาม i (ไอ) คือ 1) "เทียน" ซึ่งหมายถึงความสว่างจากความรู้หรือภูมิปัญญาโดยเฉพาะของท้องถิ่น รวมถึงความเป็น "ไท" อิสรภาพจากการครอบงำ 2) นาค/นาคา/นาคี อันหมายถึงคนพื้นถิ่นและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง 3) “คลื่น” ที่หมายถึง "น้ำ" โขง
โครงการในปัจจุบัน (ปี 2566)
- โครงการศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาเกินความพอดีที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต ผู้คนและวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง (Impacts of Overdevelopment on Mekong communities’ livelihoods, people, and culture)
โครงการที่ผ่านมา
- โครงการสร้างการอนุรักษ์พันธุ์ปลาของชุมชนท้องถิ่นในแม่น้ำมูลตอนล่าง (Strengthening Community Fisheries Conservation in the Lower Mun River, Thailand)
- โครงการเสริมสร้างบทบาทและเครือข่ายผู้หญิงลุ่มน้ำโขง-ภาคเหนือ (Strengthening Mekong Women Network in Northern Thailand)
- โครงการวิจัยไทบ้านเรื่องการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวสและชุมชนแม่น้ำโขงในภาคเหนือ
- โครงการส่งเสริมอาชีพโดยชุดถังเกษตรแบบผสมผสาน (เพื่อบรรเทาปัญหาผลกระทบแก่ชุมชนลุ่มน้ำโขง) (Project for Promoting Aquaponics to Mititgate Impacts to Mekong Local Communities)
- โครงการบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 และเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารแก่ผู้หญิงลุ่มน้ำอิง (Project for Strengthening Food Security of Women in the Ing River Basin to Mitigate Impacts of COVID-19)
- โครงการเครือข่ายผู้หญิงลุ่มน้ำอิง ปีที่ 3 (Project for Strengthening Women Network in the Ing River Basin, Phase 3)
- โครงการเครือข่ายผู้หญิงลุ่มน้ำอิง ปีที่ 2 (Project for Strengthening Women Network in the Ing River Basin, Phase 2)
- โครงการเครือข่ายผู้หญิงลุ่มน้ำอิง ปีที่ 1 (Project for Strengthening Women Network in the Ing River Basin, Phase 1)
- โครงการเสริมสร้างเครือข่ายเยาวชนลุ่มน้ำโขง (Project for Strengthening Mekong Youth Network)
- โครงการเสริมสร้างเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง (Project for Strengthening Mekong People's Network)
- โครงการ "วิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่องเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลากับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของชุมชนลุ่มน้ำโขง" (Participatory Action Research on Cultural Fish Conservation Zone and Climate Change Adaptation of Mekong Local Communities)
เจ้าหน้าที่
- ธีระพงศ์ โพธิ์มั่น ผู้อำนวยการ
- อริตา รัชธานี เจ้าหน้าที่ภาคสนาม
- นุชจรีย์ สิงคราช นักวิจัย
- สุภาภรณ์ สุวรรณสิทธิ์ เจ้าหน้าที่บัญชีและธุรการ
ผู้สนับสนุนการดำเนินงาน
|